วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

การใช้ไม้ทันฑฆาต (  ์ )

          ไม้ทัณฑฆาต  เป็นเครื่องหมายที่เขียนกำกับบนพยัญชนะ  เพื่อแสดงให้รู้ว่าพยัญชนะตัวนั้นไม่ออกเสียง  จะใช้เขียนกับคำที่เรายืมมาจากภาษาต่างประเทศ  ซึ่งมีเสียงพยัญชนะซ้อนหรือมีตัวสะกดตัวตาม  เพื่อฆ่าเสียงพยัญชนะบางเสียง  ทำให้ออกเสียงคำนั้นสะดวกขึ้น  และคงรักษารูปคำเดิมไว้  รูปพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงนั้น  เท่ากับเป็นตัวแสดงความหมายของคำที่มีเสียงพ้องกัน  แต่รูปคำแตกต่างกน  หลักการใช้เครื่องหมายทัณฑฆาตมีดังนี้

           1.ใช้เขียนเหนือพยัญชนะตัวที่ไม่ต้องการออกเสียง  เครื่องหมายทัณฑฆาตอยู่เหนือพยัญชนะตัวใด  พยัญชนะตัวนั้นไม่ออกเสียง  คำภาษาบาลี  สันสกฤต  และคำภาษาต่างประเทศอื่นๆ ที่มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำหรือตัวสะกดตัวตามมาก  หากไม่ต้องการออกเสียง  เราสามารถใช้เครื่องหมายบนพยัญชนะตัวนั้น  เช่น  กษาปณ์  กษัตริย์  กรมธรรม์  ไดโนเสาร์  ฉกรรจ์  มอเตอร์ไซด์  พระสงฆ์  อานิสงส์  ศิลป์  เป็นต้น
           หากพยัญชนะที่ไม่ต้องการออกเสียงไม่ได้อยู่ท้ายคำ  มีหลักว่า  เครื่องหมายทัณฑฆาตเขียนเหนือพยัญชนะตัวใด  พยัญชนะตัวนั้นจะไม่ออกเสียง  เช่น  กอล์ฟ  คอนเสิร์ต  ชอล์ก  ปาล์ม  ฟาร์ม  ฟิลม์  ยูนิฟอร์ม  เป็นต้น

          2.ถ้าคำนั้นเเดิมออกเสียงเรียงพยางค์เป็นหลายพยางค์  ต้องการลดเเสียงพยางค์ลง  ให้เขียนทัณฑฆาตที่พยัญชนะสุดท้ายของคำนั้น  เพื่อฆ่าเสียงตัวตามและพยัญชนะต้นของเสียงสระพยางค์ท้าย  เช่นกาญจน  อ่าน  กาน - จะ - นะ เมื่อฆ่าเสียงเขียน  กาญจน์  อ่านว่า  กาน  ลักษณ  อ่าน  ลัก - ษะ - หนะ  เมื่อฆ่าเสียงเขียน  ลักษณ์  อ่านว่า ลัก  เป็นต้น

          3.พยัญชนะควบกล้ำซึ่งออกเสียงกล้ำกัน  นับเป็นพยัญชนะเสียงเดียว  เมื่อเขียนพยัญชนะตัวใดตัวหนึ่ง  จะทำให้พยัญชนะควบกล้ำนั้นหมดไปด้วย  เช่น  เวทมนตร์  นิรันดร์  จันทร์  พักตร์  รัตนโกสินทร์  เป็นต้น

          4.พยัญชนะที่ควบกล้ำเป็นตัวสะกด  ไม่ต้องเขียนทัณฑฆาต  เพราะถ้าเขียนจะทำให้ตัวสะกดหมดเสียงไปด้วย  เช่น  จักร  ฉัตร  เพชร  เนตร  สมัคร  สูตร  เป็นต้น
          ยกเว้น  คำว่า  ศุกร์

          5.พยัญชนะที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด  และมีสระกำกับที่ตัวสะกดนั้น  ไม่ต้องใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต  เช่น  จักรพรรดิ  จักรวรรดิ  เกตุ  พยาธิ  เมรุ  เกียรติ  ธาตุ  เป็นต้น
          หมายเหตุ  คำวิสามานยนาม  แม้จะมีสระกำกับที่ตัวสะกด  ก็ยังใช้เครื่องหมายทัณฑฆาตได้ เช่น
                 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ (อ่านว่า สิ - หริ - กิด)
                 ดร.สุรเกียรติ์  เสถียรไทย  (อ่านว่า สุ - ระ - เกียด)  เป็นต้น

             ตัวอย่างคำที่ใช้ไม้ทัณฑฆาต
             คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ไม้ทัณฑฆาต

                 เกียรต์            คอนแวนต์          คาร์บอน           โคบอลต์             ดอลลาร์
                 ตอร์ปิโด         เมล์                  ไมล์                 วอลเลย์บอล        แสตมป์

             คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่ใช้ไม้ทัณฑฆาต

                 กษัตริย์           กัณฐ์                 จตุรงค์             โจทย์จำเลย         ทิวทัศน์
                 นงเยาว์           บัณเฑาะว์          บาทบงสุ์           ปราชญ์               ยานัดถุ์

วัฒนธรรมไทย


ความหมายของวัฒนธรรม

           วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต ที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการละเล่น การแสดง การร้องเพลง พฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานด้านจิตกรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ความรู้ ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบความรู้สึก ความประพฤติและกิริยาอาการ หรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ในส่วนรวม ลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกันและสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ ประเพณี ความกลมเกลียว ความก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ซึ่งวัฒนธรรมของคนแต่ละภาคในประเทศไทยก็มีความเหมือนและแตกต่างกันบ้างตามแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย รวมทั้งการสืบทอดหรืออาจมีการดัดแปลงบ้างเพื่อให้มีความเป็นสมัยนิยมมากขึ้น รวมทั้งสามารถประพฤติปฏิบัติกันได้อย่างทั่วถึงด้วยนั้นเอง
 
ความสำคัญของวัมนธรรม
 

        วัฒนธรรม เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในความเป็นชาติ ชาติใดที่ไร้เสียซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นของตนเองแล้ว ชาตินั้นจะคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้ ชาติที่ไร้วัฒนธรรม แม้จะเป็นผู้พิชิตในการสงคราม แต่ในที่สุดก็จะเป็นผู้ถูกพิชิตในด้านวัฒนธรรม ซึ่งนับว่าเป็นการถูกพิชิตอย่างราบคาบและสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ถูกพิชิตในทางวัฒนธรรมนั้นจะไม่รู้ตัวเลยว่าตนได้ถูก พิชิต เช่น พวกตาดที่พิชิตจีนได้ และตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นปกครองจีน แต่ในที่สุดถูกชาวจีนซึ่งมีวัฒนธรรมสูงกว่ากลืนจนเป็นชาวจีนไปหมดสิ้น


หน้าที่ของวัฒนธรรม
 
            วัฒนธรรม เป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน ซึ่งมีลักษณะแตกต่าง กันไปในแต่ละสังคม เช่น วัฒนธรรมอิสลามอนุญาตให้ชาย (ที่มีความสามารถเลี้ยงดูและ ให้ความ ยุติธรรมแก่ภรรยา) มีภรรยาได้มากกว่า 1 คน โดยไม่เกิด 4 คน แต่ห้ามสมสู่ ระหว่าง เพศเดียว กัน อย่างเด็ดขาด ในขณะที่ศาสนาอื่นอนุญาตให้ชายมีภรรยาได้เพียง 1 คน แต่ไม่มีบัญญัติห้าม ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน ฉะนั้นรูปแบบของสถาบันครอบครัวจึงอาจแตกต่างกันไป


             วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์  พฤติกรรมของคน จะเป็นเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมนั้น ๆ เช่น วัฒนธรรมในการพบปะทักทายของ ไทย ใช้ในการสวัสดีของชาวตะวันตกทั่วไปใช้ในการสัมผัสมือ ของชาวทิเบตใช้การแลบลิ้น ของชาว มุสลิมใช้การกล่าวสลาม เป็นต้น


             วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ควบคุมสังคม สร้างความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ให้แก่สังคม เพราะในวัฒนธรรมจะมีทั้งความศรัทธา  ความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐาน เป็นต้น ตลอดจน ผลตอบแทนในการปฏิบัติและบทลงโทษเมื่อฝ่าฝืน 

 

วัฒนธรรมไทยด้านต่างๆ

วัฒนธรรมไทย : ด้านการแต่งกาย
            วัฒนธรรม ไทยด้านการแต่งกาย ตั้งแต่ในอดีตมานั้นคนไทยมีเอกลักษณ์ด้านการแต่งกายที่ใช้ผ้าไทยซึ่งทำจาก ผ้าไหม ผ้าทอมือต่างๆ นำมาทำเป็นผ้าสไบสำหรับผู้หญิงไทย ส่วนผู้ชายก็มีการแต่งกายที่นิยมสำหรับชาวบ้านก็คงหนีไม่พ้นผ้าขาวม้าซึ่ง นิยมใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันก็ยังมีอยู่
            ตัวอย่าง ในสมัยอยุธยาตอนปลายนั้นหญิงไทยจะนุ่งโจงกระเบนสวนเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วงโจง สวมเสื้อคอปิด ผ่าอกแขนยาว โดยปกติจะไม่นิยมใส่เสื้อ
            ซึ่งในปัจจุบันนี้เราหาแทบไม่ได้แล้วสำหรับการแต่งกายแบบนี้ เนื่องจากคนไทยสมัยปัจจุบันนิยมแต่งกายตามแบบนิยมตามชาวยุโรปซึ่งทำให้กายแต่งกายแบบอดีตเริ่มเลื่อนหายไปมาก

 

วัฒนธรรมไทย : ด้านภาษา
                 ด้วยประเทศไทยมีภาษาเป็นของตนเองมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากประเทศไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใดในโลก ทำให้เรามีภาษาไทยใช้มาจนถึงปัจจุบัน และในประเทศไทยก็มีภาษาทางการ คือภาษากลาง ซึ่งคนในประเทศไม่ว่าจะอยู่ในภาคไหนก็สามารถสื่อสารกันได้ด้วยภาษากลางนั้นเอง เพราะในประเทศไทยเรามีถึง 4 ภาคหลักและในแต่ละภาคก็ใช้ภาษาที่แตกต่างกันไปบ้างดังนั้นเพื่อให้คนไทยสามารถสื่อสารตรงกันได้เราจึงมีภาษากลางเกิดขึ้นนั่นเอง


 วัฒนธรรมไทย : ด้านอาหาร
              วัฒนธรรมที่มีความสำคัญกับคนไทยไม่น้อยไปกว่าวัฒนธรรมด้านการแต่งกายและวัฒนธรรมด้านภาษาคือวัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยนั้นก็มีมาตั้งแต่สมัยอดีตจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะอาหารการกินที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วเราจะเรียกว่าวัฒนธรรมอาหารไทย ซึ่งอาหารไทยนั้นมีมากมายที่ขึ้นชื่อของไทย และโด่งดังไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง ผัดไทย เป็นต้น อาหารถือเป็นวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งของไทย ที่คนไทยควรให้ความสำคัญ และถือว่าอาหารไทยก็ไม่แพ้อาหารของชนชาติใด 


 การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
                     วัฒนธรรมเหล่านี้คือวัฒนธรรมหลักๆ ที่เรามีอยู่ในประเทศไทย  ซึ่งจริงๆ แล้วเรายังมีวัฒนธรรมอีกมายมากเพียงแต่อาจจะใช้กันในชุมชนหรือหมู่บ้านของ แต่ละท้องถิ่น แต่เมื่อเรามีวัฒนธรรมหลักที่เป็นของเราเองอยู่แล้วเราก็ควรอนุรักษ์ไว้ให้ เป็นเอกลักษณ์ของเราไม่ควรให้ต่างชาติมามีอิทธิต่อเรามากเกินไปเพราะวัน หนึ่งเราอาจไม่เหลือวัฒนธรรมไทยอะไรให้จดจำอีกเลย ฉะนั้นเรามาร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไว้เถิดเพื่อลูกหลานเราในอนาคตจะได้ ไม่หลงลืมไปและพูดถึงประเทศไทยได้อย่างเต็มความภาคภูมิใจในความเป็นไทยตลอด ไป